วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พุทธประวัติคำกลอน๓

 กว่าหกปีที่พระองค์ทรงบากบั่น

ทุกคืนวันไม่คะนึงถึงสุขสุนทร์


ทรมานร่างกายให้แรงรุน

หมายเป็นทุนให้พ้นทุกข์พบสุขใจ

แต่ยิ่งทำยิ่งตึงใหญ่ไม่เป็นผล

จึงได้ยลสายพิณพระอินทร์หมาย

ได้รู้เห็นเป็นจริงสิ่งเป็นไป

จึงพ้นได้ด้วยสายกลางทางนิพพาน

สิบห้าค่ำเดือนหกวันโลกสุข

องค์พ้นทุกข์ด้วยธรรมอันฉ่ำหวาน

องค์พุทโธบังเกิดแล้วแคล้วบ่างมาร

โลกสราญสว่างหล้าหาใดเกิน

แสงสว่างแห่งปัญญาเจิดจ้าแล้ว

ดั่งด้วงแก้วเลิศค่าสรรเสริญ

พุทธรัตน์จรัสส่องผ่องจำเริญ

สัตว์โลกเกินคณานับได้รับคุณฯ

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พุทธประวัติคำกลอน๒

ทุกข์ในโลกมากมีที่ประจักษ์

ต่างพร้อมพรักโรมรันใจให้ทุกขี


ความสุขโลกหาได้งานตามวจี

ได้แต่มีความเศร้าเคล้ากันไป

ตื่นเริงรื่นชื่นบานในกาลแรก

เช้าอาจแทรกเป็นเจ็บช้ำน้ำตาไหล

บ่ายอาจเฉยไร้อารมณ์ผสมใจ

ดำเนินไปตามครรลองของชีวา

หายากมีสุขยืนตื่นจากโลก

พ้นความโศกกิเลสชั่วตัวตัณหา

ใครเล่าใครจะหลุดพ้นไม่วนมา

ข้ามวัฏฏาไม่เวียนเกิดกำเนิดกาย

ทันใดนั้นพลันแลเห็นเป็นประเสริฐ

ทุกข์มีเกิดมีดับดิ้นสั้นสงสัย

นั้นนั่นคือสมณะผู้หลีกไกล

เดินทางไปจากกิเลสเหตุทั้งมวล

ร่างผุดผ่องละอองใส่ดังใยฝ้าย

ดำเนินไปสงบองค์ทรงสงวน

สำรวมกายใจวาจาตามสมควร

มิเวรรวนรีบเร่งเบ่งกายา

ทุกอย่างก้าวมีสติดำริตรึก

หาได้นึกถึงกิเลสเหตุทุกขา

ดังนี้แล้วสิทธัตถะแจ้งปัญญา

จึงกลับมาตั้งใจมั่นมิผันแปร

ในราตรีคืนนั้นวันคลอดบุตร

มหาบุรุษรู้ห่วงบ่วงยิ่งแท้

ราหุลองค์ทรงรักยิ่งดังดวงแด

ได้เพียงแต่ยืนรำพึงถึงบุตรองค์

มองดูบุตรสุดความรักประจักษ์ยิ่ง

ยืนแน่นิ่งในหทัยใจประสงค์

อยากโอบกอดลูกน้อยแท้มั่นคง

ได้แต่ปลงหากบุตรตื่นคงฝืนใจ

จึงหันหลังครั้งนี้ไม่มีกลับ

เพื่อจะดับตัวทุกข์โศกวิโยคหาย

นำมวลสัตว์วัฏฏะหลงลงจากภัย

จึงมุ่งไปเพื่อค้นธรรมล้ำเลิศคุณ

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พุทธประวัติคำกลอน๑

ในอดีตยังมีศรีเมืองฟ้า

นครายิ่งใหญ่ในสิงขร


กบิลพัสดุ์นามนี้เป็นขจร

เป็นนครยิ่งใหญ่ในสักกา

มีราชานามลือชื่อเป็นหนึ่ง

ผู้ที่ซึ่งเป็นใหญ่ในรัฏฐา

มเหสีนามสิริมหามายา

ครองธรรมาชาวประชาอยู่สุขใจ

สิทธัตถะโอรสประสูติประเสริฐ

ทรงล้ำเลิศปัญญาธรรมนำวิสัย

มีเมตตาการุญกำจรไป

ทั้งเป็นใหญ่ในสิปปาปัญญากร

ปวงมนุษย์ใดใดในโลกหล้า

ไม่อาจมาเทียบคุณค่ามหาศาล

ทรัพย์สมบัติมากมายอลังการ

บริวารนางฟ้อนเนื้ออ่อนนวล

ในปราสาทราชวังดังเทเวศ

อยู่ในเขตนิเวศน์ดีศรีสงวน

เฉพาะคนสวยงามตามขบวน

แก่เจ็บตายไม่มีส่วนจะเข้าไป

สามฤดูคฤหาสน์ปราสาทหนึ่ง

หาที่ซึ่งเทียบที่นี้มีไฉน

สดับเพลงไพเราะเสนาฤทัย

มิเคยได้รู้โศกซ้ำระกำใจ

แต่วันหนึ่งภูวนัยใจประเสริฐ

ได้รู้เลิศเทวทูตสุดผ่องใส

ว่าโลกนี้มีแก่และเจ็บตาย

หามิได้มั่งคงดำรงนาน

ว่าทุกข์โศกโลกภัยไม่คงมั่น

ต่างแปรผันล่วงไปไม่ประสาน

ไม่จีรังยังยืนฝืนกลกาล

ชีพไม่นานก็มอดสิ้นไร้ชิ้นดี

ต่างร้อนในเย็น

แดดอันร้อนเหลือหลายกายหมองเศร้า        

ทั้งร่มเงาต้นไม้หนาหายากแสน


ใบล่วงหล่นพ้นขั้วทั่วดินแดน                         

ทั้งขาแขนกายเล่าร้อนอ่อนอุรา

แสงสุรีย์มีประกายเปล่งสายร้อน                    

ในบทตอนบางช่วงวันเท่านั้นหนา

วารล่วงผ่านกาลดับลับทิวา                           

ร้อนที่ว่าก็มอดดับลับมลาย

แต่ความร้อนแห่งกิเลสเหตุทุกข์ร้อน              

ไม่เคยทอนร้อนดับลับสลาย

ยังเกาะตามต้อยติดแนบชิดใจ                        

ติดตามไปทุกการเห็นไม่เว้นร้อน

ทำอย่างไรให้ร้อนเดชกิเลสดับ                      

ไม่หวนกลับบังคับใจให้ทุกย้อน

ให้สงบพบเห็นเย็นทุกตอน                              

ดับความร้อนดับทุกข์ปราศสลัดภัย

หนามที่ยอกเอาหนามบ่งคงประจักษ์              


ใช้เพียรพรักพร้อมล้ำนำวิสัย

อาตาปีมีคู่จิตสถิตใจ                                       

เพียรเผาไหม้ร้อนดับร้อนย้อนสู่เย็น